6 อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

Last updated: 24 พ.ค. 2566  |  239 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ  เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้ จึงเป็นสาเหตุหลักและปัจจัยสำคัญให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม



ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง


อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

  • ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน อาการปวดแบบว้างๆ ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลังเรื้อรัง จากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด
  • ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
  • ปวดตา ตาพร่า จากการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ โดยมีสาเหตุมาจากใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ เป๋นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้

 

การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

1. ออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย
2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน จากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ให้เดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง
4. หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับสรีระการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที


การรักษาออฟฟิศซินโดรม

การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมีด้วยกันหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล โดยหากผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้รับการรักษาเมื่อพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าว ก็อาจทำให้อาการทรุดหนักลง ตลอดจนพัฒนากลายเป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้